วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวสุนันทิณี นามสกุล คงมณี ชื่อเล่น มายด์
เลขที่ 25 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/9
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
เกิดวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2542
อายุ 15 ปี
วิชาที่ชอบ : ภาษาอังกฤษ
นักแสดงที่ชอบ : Wu Yi Fan
สีที่ชอบ : สีฟ้า
อาชีพที่ใฝ่ฝัน : เภสัชกร




วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ

        
  1. แบ่งตามความต้องการแสงในการเจริญเติบโตสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.1 พืชในร่ม  (indoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงต่ำ  ควรปลูกในที่ร่ม มี
แสงรำไร จะทำให้พืชมีการสังเคราะห์แสงดี อย่าให้ถูกแดดจัด  เพราะจะทำให้ใบไหม้และตายได้ เช่น เฟิร์นต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง  บอนสี เป็นต้น
1.2  พืชกลางแจ้ง (Outdoor plants)  เป็นพืชที่ต้องการความเข้มของแสงสูง จึงจะทำให้
ขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชทำได้ดี  พืชประเภทนี้จึงต้องปลูกกลางแจ้ง ถูกแดดจัดตลอดทั้งวัน เช่น กุหลาบ เข็ม ยี่โถ ดาวเรือง ดาวกระจาย ชวนชม เฟื่องฟ้า เป็นต้น


2. แบ่งตามลักษณะรูปทรงของลำต้น ใบ ได้แก่พรรณไม้ที่มุ่งเน้นความสวยงามที่รูปทรงของ
ลำต้น พุ่ม ใบ แบ่งได้ดังนี้
            2.1. ไม้ยืนต้น (Tree)  ส่วนมากเป็นพรรณไม้ที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีอายุยืนนานหลายปี มีดังนี้
            (1) ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงคู่  ได้แก่  ไม้ให้ร่มเงา เช่น ประดู่แดง ประดู่บ้าน จามจุรี ทองกวาว คูณ นนทรีย์ ตะแบก เสลา พิกุล ลั่นทม ไทร ชงโค ฯลฯ  และไม้ยืนต้นที่มีลักษณะพิเศษของลำต้น ใบ หรือทรงพุ่มสวยงาม เช่น เฟื่องฟ้าตอ โมกตอ ไม้ดัดไม้แคระ ซองออฟอินเดีย ฯลฯ
            (2)  ไม้ยืนต้นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น จันทน์ผา ปาล์มชนิดต่าง ๆ (จั๋ง อินทผลัม ปาล์มน้ำมัน ตาล หมากเขียว หมกเหลือง หมากนวล ฯลฯ)
            2. 2 ไม้พุ่ม  (Shrub)   เป็นพรรณไม้ที่ส่วนมากจะขยายพันธุ์โดยวิธีการตอน   หรือ   ตัดชำ   ปลูกแล้ สามารถบังคับพุ่มได้    มี   2   กลุ่ม ดังนี้
            (1) ชนิดตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้  เช่น หูปลาช่อน ชบาด่าง นีออน ลิ้นกระบือ เข็มเชียงใหม่ เข็มพิษณุโลก บานบุรีพุ่ม ฯลฯ
            (2) ชนิดซอยบังคับทรงพุ่ม จะใช้กับพรรณไม้ที่ต้องการให้ออกดอก  และต้องการควบคุมความสูงของทรงพุ่ม เช่น เฟื่องฟ้า เข็มปัตตาเวีย เข็มมาเลเซีย เล็บครุฑ โกสน ฯลฯ
             2.3 ไม้กอ  เป็นพรรณไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการแยกหัว หน่อหรือเหง้า ได้แก่ ขิงแดง ข่าด่าง รางทอง เขียวหมื่นปี กล้วยกำมะหยี่ เสน่ห์ขุนแผน กาเหว่าลาย หนวดปลาดุก ม้าเวียน เศรษฐีไซ่ง่อน กำแพงเงิน กาบหอย สัปปะรดสี ฯลฯ
             2.4 ไม้คลุมดิน เป็นพืชที่มีลำต้นสั้นหรือลำต้นมีลักษณะเลื้อยยาวแผ่คลุมดินได้ดี เช่น มันเทศด่าง ผกากรองเลื้อย
            3. แบ่งตามความสวยงามหรือการใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของพรรณไม้ แบ่งได้ดังนี้
                3.1  พืชพรรณที่มีโคนต้นหรือรากสวยงาม เช่น ไทร โพธิ์ ชวนขม หมากเล็กหมากน้อย สนเลื้อย ฯลฯ

                3.2 พืชพรรณที่มีลำต้นแปลกสวยงาม เช่น ไม้ดัดไม้แคระ ปาล์มชนิดต่าง ๆ  ฯลฯ

ความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ

 ไม้ดอกไม้ประดับมีความสำคัญ  ดังนี้
1.  สามารถทำเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  สามารถทำ
เป็นอาชีพของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี  สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตปีละจำนวนมาก ๆ
2.  ทำให้สภาพแวดล้อมเกิดความร่มรื่นสวยงาม  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ   ช่วยสร้าง
ความร่มรื่นสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ  ให้น่าอยู่น่าอาศัย  สร้างความเพลอดเพลิน
3.  เป็นแหล่งวัตถุดิบทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น  อุตสาหกรรมผลิตน้ำหอม
เครื่องสำอาง  อุตสาหกรรมด้านยารักษาโรค  ตลอดจนอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น
4.  ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  เมื่อมีการรวมตัวกันผลิตไม้ดอกไม้ประดับ
จำนวนมาก  ทำให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร  เกิดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและส่วนรวมอีกทางหนึ่งด้วย
5.  ไม้ประดับสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  สร้างรายได้เป็น
มูลค่านับพันล้านบาทต่อปี เช่น การส่งออกกล้วยไม้ทั้งต้นและดอกไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น
6.  ใช้เป็นแหล่งทดลองทางวิทยาศาสตร์การเกษตร  ทำให้เกิดความเจริญด้าน

เทคโนโลยีการเกษตรมากยิ่งขึ้น

ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)

๓) ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)

หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกลงแปลง ณ บริเวณที่ต้องการปลูกตกแต่ง เพื่อประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่ ตลอดจนสวนสาธารณะ โดยไม่ตัดดอกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ประโยชน์ แต่ปล่อยให้ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม ติดอยู่กับต้นภายในแปลงปลูก เพื่อประโยชน์ในการประดับ จนกว่าจะร่วงโรยไป

ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant)

๒) ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant)
หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถางตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเปลี่ยนกระถาง ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ให้เหมาะสมกับความสูงและการเจริญเติบโตของต้น เมื่อออกดอก จะนำไปใช้ประโยชน์ในการประดับทั้งต้นทั้งดอก พร้อมทั้งกระถาง ทำให้อายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอก เช่น บีโกเนีย แพนซี แอฟริกันไวโอเลต กล็อกซิเนีย อิมเพเชียน พิทูเนีย

ไม้ดอกที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางจึงต้องมีทรงพุ่มต้นกะทัดรัด ไม่เกะกะเก้งก้าง หรือมีต้นสูงใหญ่ เกินกว่าที่จะนำมาปลูกเลี้ยงได้ในกระถางขนาดเล็กพอประมาณ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ที่สำคัญคือ ควรจะออกดอกบานพร้อมเพรียงกันเกือบทั้งต้น เพื่อความสวยงามในการใช้ประดับ ปัจจุบัน วิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลายๆ ชนิด แม้จะมีขนาดต้นสูงใหญ่ ในกระถางขนาดเล็ก โดยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า สารชะลอการเจริญเติบโต ราดหรือพ่น เพื่อทำให้ไม้ดอกเหล่านั้น มีขนาดต้นเตี้ยลงตามความต้องการ ตลอดจนใช้เทคนิคบางประการในระหว่างการปลูกเลี้ยง เพื่อบังคับให้ไม้ดอกออกดอกพร้อมเพรียงกันทั้งต้นได้ โดยคงจำนวน ขนาด และสี ตลอดจนความสวยงามของดอก ให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ


ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถาง : แอฟริกันไวโอเลต

การจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย

๑) ไม้ตัดดอก (Cut flower plant)

หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูก ณ สถานที่ที่มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม เช่น สายลม แสงแดด อุณหภูมิ ดิน น้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ การคมนาคม และระยะทางที่เหมาะสม เพื่อตัดเฉพาะส่วนดอกหรือช่อดอก ไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย เช่น แกลดิโอลัส เบญจมาศ เยอร์บีรา หน้าวัว กุหลาบ ดาวเรือง คาร์เนชัน และบัวหลวง ไม้ดอกดังกล่าวนี้ จะถูกตัดออกจากต้นไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งก้านดอกด้วย ทั้งนี้เพราะก้านดอกเป็นแหล่งสะสมอาหาร เมื่อดอกถูกตัดจากต้นเพื่อนำไปปักแจกัน หรือจัดกระเช้า อาหารที่เก็บสะสมไว้ที่ก้านดอกจะถูกนำมาใช้ ช่วยให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นคุณลักษณะสำคัญของไม้ตัดดอก นอกจากดอกจะต้องสวยสดแล้ว ก้านดอกก็ต้องใหญ่ ยาว และแข็งแรง แต่ไม่เกะกะเก้งก้าง บรรจุหีบห่อได้ง่าย ขนส่งสะดวก มีน้ำหนักไม่มากนัก และเก็บรักษาได้นาน
ยังมีไม้ดอกอีกหลายชนิดที่มีก้านดอกสั้น ก้านดอกกลวงและเปราะหักง่าย แต่ดอกสวย หรือมีกลิ่นหอม อายุการใช้งานทนนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีในวิถีชีวิตของคนไทย โดยการนำเฉพาะส่วนดอกไปร้อยมาลัย ทำอุบะ จัดพานพุ่ม หรือนำไปจัดแจกัน โดยใช้ก้านเทียมแทน เช่น รัก มะลิ พุด จำปี จำปา แวนดาโจคิม บานไม่รู้โรย


ไม้ดอกประเภท ไม้ตัดดอก : เบญจมาศ

ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น (Flowering tree)

๔) ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น (Flowering tree)

หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่กว่าไม้พุ่ม และมีความสูงเกิน ๖ เมตร สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง มีอายุอยู่ได้นานปี เช่น เสลา ตะแบก อินทนิล นนทรี พิกุล ฝ้ายคำ ทองกวาว จามจุรี ประดู่ ประดู่แดง ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ แคแสด รัตมา แคฝรั่ง โสกอินเดีย ปีบ เหลืองอินเดีย และหางนกยูงฝรั่ง


ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้น หรือไม้ใหญ่ยืนต้น : แคแสด